Category Archives: สาระ

NAC2013

ความรู้ใหม่ที่ได้จากงานนี้ (เป็นข้อมูลที่สอบถามจากคนเฝ้าบูธ)

  1. เรื่องรถไฟความเร็วสูงที่กำลังจะสร้างในไทย จะเป็นแบบล้อวิ่ง ไม่ได้แบบแม่เหล็กที่รถลอยเหนือราง
  2. รถไฟแบบแม่เหล็กมีอยู่สามที่คือเยอรมัน, จีน และญี่ปุ่น แต่ไม่ได้ใช้จริงจัง
  3. รถไฟแบบแม่เหล็กไม่ได้ใช้จริงจังเพราะรับน้ำหนักได้น้อย จึงรับได้แต่คนอย่างเดียว ในไทยอยากใช้ขนของด้วยจึงเป็นแบบล้อวิ่ง
  4. รถไฟความเร็วสูงบ้านเราเป็นแบบใช้ไฟฟ้า โดยจะจ่ายไฟมาเหนือขบวน (BTS อยู่ข้างล่าง)
  5. ทางรถไฟความเร็วสูงไม่สามารถใช้กับรางแบบเก่าได้
  6. ส่วนใหญ่เป็นรางคู่ (แบบ BTS, MRT ส่วนใหญ่)
  7. รางบางส่วนต้องเวนคืนที่ดินใหม่ เช่นบริเวณทางโค้งเพราะวิ่งไว โค้งวงกว้างมาก
  8. รางส่วนใหญ่จะสร้างไว้ บน (ข้างบน!!!!) รางเก่า ลักษณะเหมือน Airport Link (มันคือ Hopewell)
  9. รางด้านล่างยังใช้งานได้
  10. เหตุผลที่ไว้ข้างบน (จากคนเฝ้าบูธ)
    • วิ่งไว ไว้ข้างบนปลอดภัยต่อคนและสัตว์มากกว่า
    • ถ้าไว้ข้างล่างแล้ว ช่วงที่ตัดกับถนนแล้วทางหลวงต้องสร้างสะพานข้าม ลำบาก
    • ถ้าสร้างรั้วกัน (แบบมอเตอร์เวย์) จะมีคนขโมย!!! รั้วกัน ปัจจุบันก็มี
    • สะพานให้คนเดินข้ามราง ก็ยังโดนขโมยรั้วกั้นบนสะพาน!!!!!
  11. ต้องมีสถานีจ่ายไฟเป็นระยะๆ (ยาวขนาด Airport Link มี 1 สถานี)
  12. รถไฟแล่นเฉพาะกลางวัน อาจถึงมืดๆ (เช่นในญี่ปุ่นวิ่งถึงสองสามทุ่ม) กลางคืนให้รถขนของวิ่ง
  13. แล่นเฉพาะกลางวัน วิ่งไว ดังนั้น จึงไม่มีตู้นอน
  14. สถานีจะเป็นแบบไหน ตู้เดียวขึ้นลงได้ทั้งซ้ายขวา หรือ ขึ้นลงได้ด้านเดียวแบบ BTS, MRT ก็ยังไม่รู้
  15. ตัวโบกี้ จะติดแอร์ไหม มีเน็ตไหม ลักษณะ Layout เป็นแบบปัจจุบัน หรือแบบ BTS หรือแบบใน Harry Potter ก็ยังไม่รู้
  16. รถไฟธรรมดาตกรางได้ รถไฟความเร็วสูง วิ่งไวขึ้นจะตกรางง่ายกว่าไหม คำตอบคือตกได้แต่น่าจะมีโอกาสตกได้น้อยกว่า เพราะรางกว้างขึ้น ดูแลรางบ่อยขึ้น (ต้องคอยเจียรางแบบพี่เคน ในรถไฟฟ้ามหานะเธอ)
  17. รถไฟธรรมดาตกรางเพราะ รางไม่ได้ระดับ ขาดการบำรุงรักษา บางรางยังได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม
  18. เอารถไฟไปไว้ข้างบน เวลาฝนตกลมแรง ก็ยังไม่มีผลต่อการตกราง เพราะรถหนักกว่า แต่มีผลกระทบกับการเบรค (ส่วนเรื่องไฟฟ้า ไม่ได้ถาม)
  19. รางบางส่วนจะเอาลงมาพื้นราบ เช่นตอนผ่านป่า !!!
  20. บางช่วงเจาะภูเขาทำอุโมงค์ !!!
  21. ค่าตั๋ว น่าจะแพง แต่ถูกกว่าเครื่องบิน
  22. เรื่องหมึกนำไฟฟ้า มีการใช้หมึกนำไฟฟ้ามาพิมพ์ (Print) บนวัสดุต่างๆ เช่นไวนิลโฆษณา
  23. สามารถพิมพ์หมึกที่ให้แสงได้ ทับบนหมึกนำไฟฟ้าอีกรอบ
  24. เมื่อให้ไฟฟ้าผ่านหมึกนำไฟฟ้า สามารถให้แสงได้ แต่ไม่สว่างมากพอจะอ่านหนังสือได้
  25. หัวต่อไฟฟ้า ถอดเข้าออกได้ (คล้ายกับสายจ่ายไฟ พัดลม CPU ที่ต่อกับ Main board ใน PC)
  26. สามารถม้วนงอได้ แต่ต้องถอดขั้วไฟฟ้าออกก่อน เช่นพวก Roll Up Stand
  27. สามารถเขียนโปรแกรมให้ปิดๆ ติดๆ ดับๆ เหมือนไฟวงล้อในเกมโชว์ หรือคริสมาสต์ได้ แล้วแต่จะเขียนอย่างไร
  28. หมึกนำไฟฟ้าแบบโปร่งใสก็มี สามารถพิมพ์บนนามบัตรแล้ววางบนหน้าจอมือถือแบบสัมผัส แล้วส่งข้อมูลได้ (คล้ายๆ RFID)
  29. เรื่องกราฟิน ทางทฤษฎีแล้ว เป็นลักษณะผืน Carbon โดยมีความหนา 1 Atom
  30. ทางทฤษฎีแล้ว นำไฟฟ้าได้ดีกว่าโลหะ
  31. ทางทฤษฎีแล้ว เก็บไฟฟ้าได้ดีแบตเตอร์รี่ในปัจจุบัน
  32. ทางทฤษฎีแล้ว แข็งกว่าเพชร (แต่มันบางมาก)
  33. ทางทฤษฎีแล้ว เบามากๆๆๆๆๆ
  34. ทางทฤษฎีแล้ว สามารถนำมาทำ Transistor ทำเป็น CPU ได้ไวกว่าปัจจุบันมากๆๆๆ (ทดลองใน Lab)
  35. ในทางปฎิบัติแล้ว ยังไม่คุ้มทุนที่จะทำได้ได้ความสามารถตามทฤษฎี

ความเห็นส่วนตัว

  • เรื่องเอารางรถไฟความเร็วสูงไปไว้ข้างบนนั้นเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ
  • หากทำรั้วกลัวคนขโมย ก็เพิ่มเวรยาม ตำรวจ จับปรับไปก็ได้
  • ถ้ากลัวทางหลวงทำสะพานข้ามทางรถไฟข้างล่างลำบาก เอางบส่วนสร้างตอม่อให้รางลอยข้างบนไปสร้างให้ น่าจะมีเงินเหลือมากกว่า เพราะจำนวนตอม่อที่ใช้น่าจะน้อยกว่า
  • ถ้าทำรางไว้ลอยฟ้า คนพิการ คนแก่จะขึ้นลำบาก เช่นเดียวกับ BTS
  • ทำรางไว้ลอยฟ้า แต่จะให้รถไฟสามารถขนของได้ แล้วจะเอาของขึ้นลงจากสถานีกับพื้นราย บ้างหนัก บ้างเยอะ
  • สร้างถนนตัดป่า ยังอาจมีสัตว์เข้ามาบนถนนได้ รางรถไฟผ่านป่าก็เช่นกัน ทำอุโมงค์ดีแล้ว
  • หรือสร้างอ้อมเขาไปก็ยังดี

Leave a comment

Filed under สาระ

วันนี้ขโมยเข้าห้องผม

เย็นวันนี้ฝนตกตั้งแต่ช่วง 4 โมงเย็น เลยนั่งทำงานต่อ จนเกือบ 6 โมงเย็น เห็นว่าฝนคงตกอีกนานและหิวข้าแล้ว เลยตัดสินใจฝ่าฝนกลับมาบ้าน

ถึงบ้านตอนประมาณ 6 โมงเย็น เข้าห้องมาพบว่า หน้าต่างบานนี้เปิดอยู่ (ในภาพมันปิดแล้วล่ะ)

Continue reading

1 Comment

Filed under สาระ

ขอบคุณอาจารย์ที่สอน Socket Programing

ที่ทำงานให้เขียน API โดย API ตัวนี้ต้องเรียก java ทุกครั้ง
java ทำให้ API นี้มี Execute time นานมากๆ ~2.5 วินาที ต่อการเรียก API 1 ครั้ง
เพราะต้องทำการอ่านไฟล์เยอะมากๆ สัก 50000 บรรทัดได้ และต้องอ่านทุกครั้ง

ทำยังไงให้มันเร็วขึ้น????
ทำให้มันอ่านไฟล์ทีเดียวใช้ได้ตลอดสิ
ก็เลยทำเป็น java Httpserver ซะเลย ด้วยความรู้ตอนสมัยเรียน Socket Programing

โดยให้อ่านไฟล์ตอน Start server และ ตอนมี Http request เข้ามา ก็ check ว่าอ่านไฟล์เข้ามาครั้งสุดท้ายเมื่อไร
ถ้าเกิน 10 นาทีให้มันอ่านใหม่อีกครั้ง (เผื่อไฟล์ update) และทำงานตามปกติ

ผลคือ ทดสอบ 150 data ใช้เวลารวม 36592 millisecond เฉลี่ย Data ละ ~0.25 วินาที
เร็วขึ้น 10 เท่า โอ๊ว ขอบคุณอาจารย์จริงๆ ครับที่สอนผมมา -/|\-

Leave a comment

Filed under สาระ